LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
โรงแรมคลาสสิกสุดไพรเวทแห่งย่านเมืองเก่าของภูเก็ต
ซึมซับเสน่ห์เมืองเก่าผ่านสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ที่กระจายตัวอยู่ในเมืองภูเก็ตโดยรอบ จรดล้มหัวลงนอนบนเตียงในห้องพักดีไซน์คลาสสิกสุดไพรเวทของ 97 Yaowarat โรงแรมแห่งใหม่ ที่ความ “เก่า” กับความ “ใหม่” อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว
โรงแรม 97 Yaowarat ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 97 บนถนนเยาวราช จังหวัดภูเก็ต ก่อตั้งโดยคุณจ๊อก กสานดิ์ อินทรสูต สถาปนิกและเจ้าของบริษัทสถาปนิก K I N D architect (Kasan Indharasuta Architect) ในจังหวัดภูเก็ต ที่มีโอกาสได้พบกับตึกสมัยเก่าสไตล์ Sino-Portuguese อายุร้อยกว่าปีแห่งนี้ และนำมารีโนเวทพื้นที่ชั้นล่างเป็นออฟฟิศเล็กๆ ของเขา ส่วนชั้นบนทำเป็นห้องพักไพรเวทแบบยูนิตเดียวไม่เกี่ยวกับใคร (Private Entire Floor) ในพื้นที่ขนาด 50 ตารางเมตร
“แม้อยู่ในสเปซโรงแรมก็ยังสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของความเป็นเมืองเก่าของภูเก็ตได้อยู่” คุณจ๊อกบอกกับเราถึงความแตกต่างของห้องพักที่นี่ ในขณะที่โรงแรมหรือโฮลเทลอื่นมักใช้วิธีการกั้นพื้นที่เพื่อให้ได้จำนวนห้องพักมากขึ้น แต่ผลลัพธ์คือผู้เข้าพักไม่ค่อยสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของความเป็นตึกสมัยเก่าสักเท่าไหร่ ดังนั้นที่นี่จึงเลือกเปิดพื้นที่ห้องให้โล่งเชื่อมถึงกันทั้งชั้น ทำให้โรงแรมมีห้องพักเพียง 1 ห้องเท่านั้นเพื่อให้เข้าถึงบรรยากาศความเป็นเมืองเก่าที่เชื่อมจากข้างนอก จนถึงย่างก้าวเดินผ่านบานประตูเฟี้ยมหน้าโรงแรมเข้ามาภายใน
“เราเห็นเสน่ห์ของความเก่า ความดิบ ที่มีคุณค่าด้วยเนื้อแท้โดยที่ไม่ต้องปรุงแต่ง ทำให้โรงแรมนี้เกิดการผสมผสานระหว่างความโมเดิร์น-ความคลาสสิก ความดิบ-ความเนี้ยบ และความเก่า-ความใหม่ ที่สร้างเอกลักษณ์คุณค่าใหม่ให้งานสถาปัตยกรรมลงตัวในความคอนทราสได้ ดังนั้นความดิบเก่าของอาคารจึงถูกคงไว้แบบแทบจะไม่ได้แตะ แต่เราจะรื้อสิ่งที่ไม่ใช่ของเดิม หรือเป็นส่วนที่ผู้เช่าเก่าแต่งเติมขึ้นออกไป เช่น ผนังกั้นห้อง และฝ้าเพดาน”
ผลลัพธ์จึงได้ห้องพักเพดานสูงกับสเปซห้องที่โปร่งโล่งขึ้น และเห็นส่วนของผนังสีครามบนฝ้า (ที่เดิมทีถูกปิดไว้) เกิดจากวิธีการนำผงครามผสมกับปูนซีเมนต์แล้วฉาบลงกับผนัง ซึ่งเป็นเทคนิคของสถาปนิกสมัยก่อน และโครงไม้คานของหลังคาเดิมที่กลายเป็นองค์ประกอบดีไซน์ให้กับห้องได้ มีมุมนั่งเล่นริมหน้าต่างที่เป็นดีไซน์เก่าดั้งเดิมของอาคาร ที่เมื่อเปิดหน้าต่างออกมาก็จะเห็นวิวของเมืองเก่ากับสถาปัตยกรรมเก่าที่เป็นเสน่ห์ของเมืองได้อีก เป็นประสบการณ์การพักที่สัมผัสถึงความเป็นเมืองเก่าของภูเก็ตได้จริง รองรับแขกทั้งมาเป็นคู่และแบบครอบครัว เพราะสามารถปรับ Sofa Bed ตรงมุมนั่งเล่นให้เป็น Extra Bed เพิ่มอีก 2 คนได้
นอกจากจุดเด่นด้านดีไซน์และความเป็นส่วนตัวแล้ว ที่ 97 Yaowarat ยังมีโซน Semi Outdoor บริเวณด้านหลังของชั้นหนึ่งให้ผู้เข้าพักจัดเป็นมุมซีฟู้ดปาร์ตี้ปิ้งย่างของตัวเองได้ในมื้อที่ไม่อยากไปนั่งร้านอาหารข้างนอก ซึ่งมุมนี้เคยเป็น “ฉิ่มแจ้” หรือพื้นที่เปิดโล่งกลางบ้านพร้อมบ่อน้ำสำหรับใช้ในบ้านของคนภูเก็ตสมัยเก่า แม้ชั้นล่างจะเป็นออฟฟิศ แต่ก็ออกแบบให้มีประตูทางเข้า 2 ทางแยกส่วนกันระหว่างประตูออฟฟิศ เพิ่มความความรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ใครชื่นชอบเสน่ห์คลาสสิกของโรงแรมที่ยังคงคุณค่างานสถาปัตยกรรมสมัยเก่าไว้ให้มีเอกลักษณ์ น่าอยู่ และมีชีวิตชีวาอย่างไร้กาลเวลาแบบ “The past is going to continue” ขอแนะนำให้มาเยือนที่นี่
97 Yaowarat โรงแรมคลาสสิกสุดไพรเวทแห่งย่านเมืองเก่าของภูเก็ต
/
“ณ ตะนาว” ด้วยชื่อแล้ว สามารถบอกถึงตำแหน่งของโครงการซึ่งอยู่ริมถนนตะนาว ซึ่งตั้งทำมุมตรงกับซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์พอดิบพอดี ย่านการค้าที่เคยเฟื่องฟูแห่งหนึ่งของรัตนโกสินทร์ชั้นในได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาผังเมือง ทำให้การลงทุนและประกอบธุรกิจบริเวณนี้อาจมีนัยยะที่ลึกซึ้งมากกว่าการสร้างอาคารบนข้อจำกัดเพื่อพิสูจน์ความสำเร็จเชิงรูปธรรมอย่างแน่นอน
/
Uthai Heritage บูติกโฮเทลที่เกิดขึ้นมาจากการรีโนเวทอาคารเก่าของโรงเรียนอุทัยธานี สู่แลนด์มาร์กใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์สำคัญของจังหวัดอุทัยธานี
/
กูรูในวงการท่องเที่ยวเคยคาดการณ์ไว้ว่า สมุยจะเป็นที่สุดท้ายในเมืองไทยที่สามารถฟื้นตัวจากพิษโควิด สาเหตุหลักๆ เพราะสมุยนั้นเปรียบไปก็เหมือนของเล่นของฝรั่ง ค่าครองชีพโดยรวมจัดว่าสูงไม่แพ้ภูเก็ต แถมยังมี supply เหลือเฟือ ห้องเช่าโรงแรมเล็กโรงแรมน้อยไปจนถึงห้าดาวมีให้เห็นกันแทบจะทุกตารางนิ้ว ที่สำคัญ คนไทยไม่เที่ยวหรอกเพราะค่าตั๋วเครื่องบินที่ผูกขาดไว้โดยสายการบินเดียวนั้นแพงระยับ แต่ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา โลกโซเชี่ยลกลับพบว่าเหล่า instagramer มากมายไปปรากฏกายอยู่ที่สมุย จนเกิดคำพูดที่น่าหมั่นไส้เบาๆ ว่า “ใครๆ ก็อยู่สมุย”
/
จากย่านการค้าที่เคยคึกคักในอดีต เมื่อเวลาผ่านไป สะพานควายกลายเป็นเพียงทางผ่านซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องสภาพการจราจรที่หนาแน่น เมื่อได้รับโจทย์ให้ออกแบบอาคารใหม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้ ทีมสถาปนิก PHTAA Living Design ตั้งใจที่จะใช้งานออกแบบเป็นพลังผลักดันในการเปลี่ยนภาพจำของสะพานควายให้กลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง "สะพานควายกลายเป็นย่านการค้าขนาดรอง จะเห็นว่าที่นี่มีแต่ร้านซ่อมรองเท้า ซ่อมนาฬิกา และร้านขายของเบ็ดเตล็ด เป็นที่ซึ่งคนไม่ได้ตั้งใจมาเหมือนแต่ก่อน เป็นแค่ย่านทางผ่าน" พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA กล่าว "เราเลยอยากทำให้แถวนี้เป็นย่านทางผ่านที่มีประสิทธิภาพ แค่เราสร้างความน่าสนใจให้กับทางผ่านได้มากขึ้น มันก็ถือว่าเปลี่ยนแล้ว"
/
เสียงยอดมะพร้าวเสียดสีกันตามแรงลมผสมกับเสียงคลื่นดังแว่วมา กลายเป็นท่วงทำนองที่ลงตัวใน "วารีวาน่า รีสอร์ต" (Varivana Resort) โรงแรมที่ซ่อนตัวอยู่บนเนินเขาท่ามกลางสวนมะพร้าวในเกาะพะงัน ที่นี่ อาคารคอนกรีตเปลือยสามชั้นหันหน้าเปิดรับมุมมองเส้นขอบท้องฟ้าอันไกลโพ้น โรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อธรรมชาติของแมกไม้ในภูเขาเข้ากับผืนน้ำในท้องทะเลกว้างใหญ่ให้เกิดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับผู้มาเยือนโดยเฉพาะ
/
จากปรัชญาเต๋าที่ว่า ‘ภายนอกเราปั้นดินให้เป็นไห...แต่ที่ว่างข้างในต่างหากที่ใช้ใส่ของที่ต้องการ’ (我们将陶土捏成罐子,但是罐子中间的空间,让它成为有用的器皿。) สู่แนวคิดของสถาปนิกชั้นครู Frank Lloyd Wright ที่อธิบายมุมมองของเขาซึ่งมีต่อสถาปัตยกรรมว่า ‘สาระสำคัญของอาคารเกิดจากที่ว่างซึ่งอยู่ภายใน’ (The Space within become the reality of the building.) กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ ‘สถาปนิกไอดิน’ ออกแบบรีสอร์ตแห่งหนึ่งโดยคำนึงถึงการสร้างสรรค์ที่ว่าง/ระหว่างทาง/และสุนทรียภาพที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัส ก่อนที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปทรงของอาคารริมแม่น้ำแคว
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )